แนวทางการรับมือ Covid-19 สำหรับโรงงาน และบริษัท

พอดีมีความจำเป็นต้องหาข้อมูล แนวทางการรับมือ แนวทางปฏิบัติ หรือ Guideline สำหรับการต่อสู้กับ Covid-19 ในโรงงาน และบริษัทนะครับ และก็พบว่า ข้อมูลน่าจะเป็นประโยชน์ต่อโรงงาน หรือบริษัทอื่น เลยอยากเอามาแชร์ต่อครับ

โดยแนวทางการปฏิบัติ จะขอแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อ ดังนี้

  1. พนักงาน
  2. โรงงาน
  3. การทำความสะอาด
  4. การคัดกรอง การตรวจ
Download Slide ทีนี่

1. พนักงาน

เราจะแบ่งพนักงานออกเป็น 4 กลุ่ม

1.1 พนักงานกลุ่มที่ ไม่มีอาการ ไม่มีความเสี่ยง

พนักงานกลุ่มนี้ สามารถทำงานได้ตามปกติ ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค (ล้างมือ รักษาระยะห่าง งดใช้สิ่งของร่วมกัน)

1.2 พนักงานที่มีอาการ

  • ให้แยกออกจากพื้นที่ทำงานโดยทันที
  • เข้ารับการตรวจเช็คเชื้อโควิดที่โรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม
  • หากพบเชื้อ เข้ารับการรักษาตามสิทธิ
    • หากไม่มีอาการรุนแรง
      • พักรักษาตัวที่สถานที่ที่รัฐจัดหาให้ จำนวน 14 วัน
      • รักษาตามอาการ
    • หากมีอาการรุนแรง
      • พักรักษาตัวที่โรงพยาบาล
      • อาจได้รับยา Favipiravir และยาตัวอื่นๆ ตามอาการ

อาการของเชื้อโควิด
อาการของเชื้อโควิด

1.3 พนักงานที่ ไม่มีอาการ แต่ มีความเสี่ยง ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ

  • กักตัวอยู่บ้าน 14 วัน
  • เลิกกักตัว เมื่อ อาการดีขึ้น

แนวทาง CDC ให้ผู้เสี่ยงกักตัว 14 วัน
แนวทาง CDC ให้ผู้เสี่ยงกักตัว 14 วัน

1.4 พนักงานที่หายแล้ว ออกจากที่รับการรักษา

  • ไม่จำเป็นต้องกักตัวหรือแยกตัวจากผู้อื่นเพราะหายจากโรคแล้ว
  • ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคปกติ (ล้างมือ รักษาระยะห่าง ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน)

ตรวจ LAB นอก ได้หรือไม่?

ให้ติดต่อกับโรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคมว่า

ยอมรับผลตรวจของเอกสาร LAB นอก นั้นๆ หรือเปล่า

หลังกักตัวครบแล้ว หากอาการดีขึ้น ให้หยุดกักตัวได้
หลังกักตัวครบแล้ว หากอาการดีขึ้น ให้หยุดกักตัวได้
กระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้ไม่จำเป็นต้องกักตัวต่อ หากรักษาหายดีแล้ว
กระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้ไม่จำเป็นต้องกักตัวต่อ หากรักษาหายดีแล้ว

ลงทะเบียนรับ Vaccine สำหรับพนักงาน

  • ติดต่อ สสจ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ถึงขั้นตอนการรับวัคซีนของพื้นที่นั้นๆ
  • เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่ม
ตัวอย่างเว็บไซต์ สสจ.สมุทรปราการ
ตัวอย่างเว็บไซต์ สสจ.สมุทรปราการ

2. โรงงาน

  1. เพิ่มมาตรการป้องกันโรค (Social Distance, ใส่ Mask, ล้างมือ)
    1. เพิ่มระยะห่าง 2 เมตร
    2. ใช้ Partition กั้นในพื้นที่ที่มีความจำเป็น
    3. สร้างสัญลักษณ์ ระยะห่าง
  2. ลดความเสี่ยง ลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น
  3. เน้นย้ำ เรื่องสิทธิวันลาป่วย
  4. หากมีการทำงานเป็นกะ กำหนดให้อยู่ในกลุ่มเดิม
  5. เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่กระจาย

สามารถดูแนวทางปฏิบัติอื่นๆ สำหรับโรงงานได้ที่ https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/community/guidance-manufacturing-workers-employers.html

 

ตัวอย่างการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานในสายการผลิต
ตัวอย่างการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานในสายการผลิต

3. การทำความสะอาด

  • ที่ไหน
    • กำหนดจุดพื้นที่ผิวสัมผัส ที่เกิดขึ้นบ่อย
    • ยกตัวอย่าง ปากกา, โต๊ะ, ลูกบิดประตู, สวิทช์, ราวจับ, ปุ่ม, ห้องน้ำ, หัวก๊อก


  • เมื่อไหร่
    • อย่างน้อยวันละครั้ง หรือตามความเสี่ยงที่มากขึ้น

  • อย่างไร
    • ใช้แอลกอฮอลล์ หรือ Dettol ผสม ในจำนวนที่เหมาะสม
    • ทำในพื้นที่อากาศถ่ายเท
    • รายละเอียด LINK
ตัวอย่างพื้นที่ ที่มีการสัมผัสเยอะ
ตัวอย่างพื้นที่ ที่มีการสัมผัสเยอะ

เครื่องพ่น, เสปรย์

การพ่นสถานที่ในวงกว้าง

  • ไม่ควร มี อันตรายมากกว่าประโยชน์ 
  • สมาคมโรคติดต่อไทยไม่แนะนำ
  • CDC อเมริกาไม่แนะนำ

การพ่นสิ่งของ

  • ยังไม่มีข้อมูลรองรับ
การพ่น มีอันตรายมากกว่าคุณประโยชน์ CDC และสมาคมโรคติดต่อไม่แนะนำ
การพ่น มีอันตรายมากกว่าคุณประโยชน์ CDC และสมาคมโรคติดต่อไม่แนะนำ
เอกสารของสมาคมโรคติดต่อ
เอกสารของสมาคมโรคติดต่อ
ข้อมูลของ CDC ต่อการใช้เครื่องพ่น
ข้อมูลของ CDC ต่อการใช้เครื่องพ่น

การทำความสะอาดพื้นที่ ที่พบผู้ติดเชื้อ

หากไม่เกิน 24 ชั่วโมง: ให้ทำการฆ่าเชื้อ

  • ปิดพื้นที่ส่วนนั้นก่อน และรอเวลาให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (หลายชั่วโมง) ก่อนเริ่มทำความสะอาด
  • เปิดประตู หน้าต่าง เพื่อให้อากาศถ่ายเท ใส่หน้ากาก และถุงมือ และเริ่มทำการฆ่าเชื้อ

หากเกิน 24 ชั่วโมงไปแล้ว: ให้ทำความสะอาด ไม่จำเป็นต้องฆ่าเชื้อ

หากเกิน 3 วันไปแล้ว: ไม่ต้องทำอะไรเป็นพิเศษ

แนวทางของ CDC ในการทำความสะอาดพื้นที่ ที่พบผู้ติดเชื้อ
แนวทางของ CDC ในการทำความสะอาดพื้นที่ ที่พบผู้ติดเชื้อ
งานวิจัยสนับสนุนว่า การสัมผัสไม่ใช่ช่องทางการแพร่เชื้อโรคหลัก
งานวิจัยสนับสนุนว่า การสัมผัสไม่ใช่ช่องทางการแพร่เชื้อโรคหลัก

4. การคัดกรอง, การตรวจ

การคัดกรอง

  • ตรวจวัดอุณหภูมิ ไม่มีไข้
  • ไม่มีอาการของโรคโควิด
    ไข้ ไอ หายใจไม่ทัน ปวดเมื่อย ปวดหัว เจ็บคอ สูญเสียรสสัมผัส รับกลิ่น
  • ไม่ได้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคโควิด ในช่วง14 วันที่ผ่านมา
  • ไม่ได้กำลังรอผล หรือมีผลตรวจพบเชื้อ
การเข้าใช้พื้นที่ ต้องผ่านเงื่อนไขเหล่านี้
การเข้าใช้พื้นที่ ต้องผ่านเงื่อนไขเหล่านี้

การตรวจ

แบบ Diagnostic

  • สำหรับ: คนที่มีอาการ, ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ
  • เพื่อ: ทราบผล และเข้ารับการรักษาหากพบเชื้อ

การตรวจแบบ Screening

  • สำหรับ: ผู้ที่ไม่มีความเสี่ยง 
  • เพื่อ: วางแผน และหามาตรการป้องกัน
  • ความถี่
    • ให้ตรวจสอบว่า อยู่ในเขตที่มีการแพร่ระบาดหนักแค่ไหน (ตารางบน)
    • ใช้มาตรการ ตามระดับการแพร่ระบาด เช่น กลุ่มแพร่ระบาดสูง ให้ใช้วิธี ตรวจทุกอาทิตย์
ตารางอธิบายแนวทางการตรวจคัดกรอง
ตารางอธิบายแนวทางการตรวจคัดกรอง

วิธีการตรวจ

  1. ตรวจแบบ RT-PCR: แพง รู้ผลหลักวัน แต่ผลลัพธ์แม่นยำ
  2. ตรวจหา Antigen: ถูก ง่าย รู้ผลเร็ว แต่ไม่ละเอียด
การตรวจหา Antigen อาจจำเป็นต้องยืนยันด้วย RT-PCT
การตรวจหา Antigen อาจจำเป็นต้องยืนยันด้วย RT-PCT

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *